เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 8. ปสูรสุตตนิทเทส
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราไม่ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ไม่ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร" รวมความว่า ย่อมคร่ำครวญ
เศร้าโศก
คำว่า เสื่อมวาทะไปแล้ว ได้แก่ เสื่อมวาทะไปแล้ว คือ มีวาทะเลว ทราม
ต่ำทราม เสื่อมเสีย ไม่บริบูรณ์ รวมความว่า เสื่อมวาทะไปแล้ว ย่อมคร่ำครวญ
เศร้าโศก
คำว่า ทอดถอนใจว่า เขานำ(หน้า)เราไปแล้ว อธิบายว่า ทอดถอนใจว่า
เขานำ คือ ล่วงเลย ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นเรา คือวาทะเรา ด้วยวาทะเขาแล้ว
รวมความว่า เขานำ(หน้า)เราไปแล้ว อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ทอดถอนใจว่า เขาเที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีเรา คือวาทะเรา ด้วย
วาทะเขา รวมความว่า เขานำ(หน้า)เราไปแล้ว อย่างนี้บ้าง
การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ
ภาวะที่พร่ำเพ้อ ตรัสเรียกว่า การทอดถอนใจ รวมความว่า ทอดถอนใจว่า เขา
นำ(หน้า)เราไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บริษัทผู้พิจารณาปัญหากล่าววาทะของเขาว่า เลว
ถูกคัดค้านตกไปแล้ว เขาเสื่อมวาทะไปแล้ว
ย่อมคร่ำครวญ เศร้าโศก ทอดถอนใจว่า เขานำ(หน้า)เราไปแล้ว
[63] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
การวิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ
ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาทเหล่านี้
บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน
เพราะว่าไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ

ว่าด้วยโทษของการวิวาท
คำว่า การวิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ อธิบายว่า
คำว่า สมณะ ได้แก่ นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเข้าถึงการบวชเป็นปริพาชก
ถึงการบวชเป็นปริพาชก ภายนอกจากธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :202 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 8. ปสูรสุตตนิทเทส
การทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ การบาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่ง
กันเพราะทิฏฐิ การวิวาทกันเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิเหล่านี้ เกิดแล้ว คือ
เกิดขึ้นแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วในหมู่สมณะ รวมความว่า การ
วิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ
คำว่า ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาทเหล่านี้ อธิบายว่า
มีชนะมีแพ้ มีลาภมีเสื่อมลาภ มียศมีเสื่อมยศ มีนินทามีสรรเสริญ มีสุขมีทุกข์
มีโสมนัสมีโทมนัส มีอิฏฐารมณ์มีอนิฏฐารมณ์ มีปลอดโปร่งมีกระทบกระทั่ง
มีความยินดีมีความยินร้าย ใจยินดีเพราะชนะ ใจยินร้ายเพราะพ่ายแพ้ ใจยินดีเพราะ
ได้ลาภ ใจยินร้ายเพราะเสื่อมลาภ ใจยินดีเพราะได้ยศ ใจยินร้ายเพราะเสื่อมยศ
ใจยินดีเพราะสรรเสริญ ใจยินร้ายเพราะนินทา ใจยินดีเพราะความสุข ใจยินร้าย
เพราะความทุกข์ ใจยินดีเพราะโสมนัส ใจยินร้ายเพราะโทมนัส ใจยินดีเพราะเฟื่องฟู
ใจยินร้ายเพราะตกอับ รวมความว่า ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาท
เหล่านี้
คำว่า เห็นโทษนี้แล้ว ในคำว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำ
ขัดแย้งกัน อธิบายว่า เห็นแล้ว คือ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว
ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้ ในการทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ การ
บาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ การวิวาทกันเพราะทิฏฐิ การ
มุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ
คำว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน อธิบายว่า การ
ทะเลาะกัน การบาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกัน การมุ่งร้ายกัน
ตรัสเรียกว่า ถ้อยคำขัดแย้งกัน
อีกนัยหนึ่ง ถ้อยคำที่ขัดแย้งกัน ได้แก่ ถ้อยคำที่ไม่นุ่มนวล อธิบายว่า
บุคคลนั้น ไม่พึงก่อถ้อยคำขัดแย้งกัน คือ ไม่พึงก่อการทะเลาะกัน ไม่พึงก่อการ
บาดหมางกัน ไม่พึงก่อการแก่งแย่งกัน ไม่พึงก่อการวิวาทกัน ไม่พึงก่อการมุ่ง
ร้ายกัน ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการทะเลาะ
การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :203 }